ปัจจุบันเราต้องใช้ชีวิตอยู่กับสมาร์ทโฟนและสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้เราเสพติดโดยไม่รู้ตัว เกิดเป็นโรคติดสื่อสังคมออนไลน์ (Social addiction) ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง มีเวลาพักผ่อนน้อย ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว
ดังนั้นเราควรสังเกตตนเองว่ามีอาการของโรคติดสื่อสังคมออนไลน์หรือไม่ด้วยลักษณะ 7 ข้อ ดังต่อไปนี้
1.ใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากกว่าที่ตั้งใจไว้
2.มีอาการกระวนกระวายใจหรือหงุดหงิด เมื่อไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดีย
3.ไม่สามารถควบคุมการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของตนเอง แม้จะพยายามแล้วก็ตาม
4.ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใดอยู่ก็มักจะคิดถึงการใช้โซเชียลมีเดีย
5.เวลาเครียดมักจะใช้โซเชียลมีเดียเพื่อผ่อนคลาย
6.มีการโกหกหรือปิดบัง เพื่อที่จะได้เล่นโซเชียลมีเดีย
7.เกิดปัญหาในการทำงานหรือเกิดปัญหาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดโดยมีโซเชียลมีเดียสาเหตุ
หากมีลักษณะอาการตาม 7 ข้อที่กล่าวมา แสดงว่าเราอาจเป็นโรคติดสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งสามารถรับมือและแก้ไขได้ด้วยตนเองตามวิธีดังต่อไปนี้
1.มีการตั้งเตือนเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดียเป็นตัวช่วย เพื่อลดเวลาการใช้โซเชียลมีเดียให้น้อยลง
2.มีการวางแผนและกำหนดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดียให้ชัดเจน
3.หางานอดิเรกที่สนใจทำ เช่น การออกำลังกาย การทำงานฝีมือ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากโซเชียลมีเดีย
4.ออกไปสังสรรค์พบปะเพื่อนหรือญาติ ไปท่องเที่ยว แทนการใช้เวลาอยู่กับโซเชียลมีเดีย
5.ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขและรักษาโรคติดสื่อสังคมออนไลน์ หากไม่สามารถแก้ไข ตามวิธีเบื้องต้นด้วยตนเองได้
Reference & Bibliography
- เช็ก 7 อาการ โรค Social addiction. กรมสุขภาพจิต. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30210
- โรคจดจ่อมือถือติดโซเชียล. เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก https://www.dailynews.co.th/article/757982
Additional Information
ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา CJR411,JR413 Newspaper Workshop, CJR413,JR414 Magazine Workshop ภาคการศึกษาที่ 2/2562 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ขจรจิต บุนนาค และผศ.ณรงค์ศักดิ์ ศรีทานันท์