ถ้าพูดถึงดนตรีที่เราได้ยินได้ฟังกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน บางคนเป็นนักฟังดนตรี บางคนเล่นดนตรี และบางคนใช้ดนตรีเพื่อความสนุกสนาน ไม่ว่าคุณจะอยู่กับเสียงดนตรีในรูปแบบใด

เราขอแนะนำอีกหนึ่งศาสตร์และศิลป์ของดนตรี ที่ช่วยรักษากายใจของเราให้แข็งแรง มาทำความรู้กับ ดนตรีบำบัด ให้มากขึ้นกันอีกนิด

รู้จักดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัดเป็นการรวมเอาศาสตร์ด้านการแพทย์ และจิตวิทยาเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยการใช้ดนตรีมาเป็นสื่อกลางทาง การรักษาผู้ป่วย โดยดนตรีบำบัดมีส่วนช่วยอย่างมากในเรื่องของทางจิตใจและสมอง สามารถลดการเจ็บปวด ความวิตกกังวลได้อย่างดี อีกทั้งยังพัฒนาสมองช่วยการเรียนรู้ได้อีกด้วย

องค์ประกอบดนตรีบำบัดที่ดี

ดนตรีบำบัด ต้องมีลักษณะอย่างไร ถึงจะช่วยขจัดทุกข์ เพิ่มความสุขใจ ดนตรีบำบัดต้องเป็นเพลงที่มีรูปแบบวงออเคสตร้า เพลงแจ๊สช้า และเพลงป๊อป จังหวะของเพลงควรนุ่มนวล ฟังแล้วรู้สึกสบาย เครื่องดนตรีที่นิยมสำหรับดนตรีบำบัด ได้แก่ กีต้าร์ เปียโน หรือจะเป็นเครื่องดนตรีคลาสสิกก็ได้ ไม่ควรเป็นเพลงที่มีเนื้อร้อง เพราะอาจทำให้เสียสมาธิได้ 

5 จังหวะเพลงที่มีความหมาย

คลาสสิค ป๊อป โมซาร์ต เบสทุ้ม และไร้เนื้อร้อง เป็น 5 จังหวะเพลงที่ทรงพลังของดนตรีบำบัด

เพลงคลาสสิก อาจใกล้เคียงเพลงบรรเลง แต่ในส่วนของเพลงคลาสิกจะใช้เป็นวงออเคสตร้าในการบรรเลง โดยจะช่วยใน เรื่องของการลดความเครียด รู้สึกผ่อนคลาย ชะลอความดันและอัตราการเต้นของหัวใจได้ดี 

เพลงบรรเลงของโมซาร์ต จัดเป็นอีกหนึ่งจังหวะที่ดีต่อสมองมาก เนื่องจากเป็นจังหวะที่กระตุ้นสมองได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งทำให้การจดจำสิ่งต่าง ๆ นั้นดีขึ้น เหมาะแก่ นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่ต้องทำงานใช้การจดจำมาก ๆ 

เพลงป๊อบ เป็นอีกหนึ่งจังหวะเพลงที่คนเข้าขึ้นได้รวดเร็วเพราะหาฟังได้ง่าย ถูกใจคนรุ่นใหม่ จังหวะของเพลงป๊อปจะช่วยเรื่องการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร หรืองานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยในแง่ของการสะกดคำหรือตัวอักษรให้แม่นยำยิ่งขึ้น 

เพลงจังหวังที่มีเบสทุ้ม เป็นจังหวะที่สนุกสนานเข้าถึงได้ง่าย โดยจังหวะจะช่วยสร้างพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ สร้างความมั่นใจในการทำงาน แต่ถ้าฟังมากเกินไปอาจทำให้เสียสมาธิ

เพลงบรรเลงไม่มีเนื้อ เป็นอีกจังหวะที่คนนิยมฟังเยอะเพราะจังหวะฟังง่าย ช่วยทำให้มีสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ ดียิ่งขึ้น ช่วยให้ผ่อนคลาย เป็นแนวที่เหมาะกับการนั่งทำงานที่ใช้เวลานาน 

เมื่อดนตรีบำบัดร่างกายและจิตใจ

เสียงดนตรีมีประโยชน์กับร่างกายและจิตใจของมนุษย์ เพราะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด กระตุ้นสมองให้มีประสิทธิภาพต่อการทำงานได้ในระยะยาวของสมอง ช่วยสร้างโกรทฮอร์โมนที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยไม่ให้แก่ก่อนวัย ชะลอชรา ลดอาการเครียด คลายกังวล และต้านซึมเศร้าได้เป็นอย่างดีเสียงดนตรี

Reference & Bibliography

Additional Information

ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา CJR411,JR413 Newspaper Workshop, CJR413, JR414 Magazine Workshop ภาคการศึกษาที่ 2/2562 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ขจรจิต บุนนาค และผศ.ณรงค์ศักดิ์ ศรีทานันท์

Writer & Graphic

การเขียนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ช่วยบรรยายความรู้สึก และการทำงานในแต่ละวันของเรา ยิ่งไปกว่านั้นการเขียนยังบอกถึงสไตล์ที่แตกต่างกันไปของแต่ละบุคคล ที่ไม่มีใครสามารถลอกเลียนแบบได้