ช่วงที่ต้องทำงานหนักหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต เชื่อว่าหลายคนคงเคยเผชิญกับความวิตกกังวล เราลองมาตรวจเช็คกันดูว่า เราวิตกกังวลจนกลายเป็นโรคหรือไม่ ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข อธิบายว่า โรควิตกกังวล เป็นโรคทางจิตที่พบได้มากที่สุดโรคหนึ่ง บ้านกล้วย รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ ประเภทของโรค อาการที่เกิดขึ้น รวมทั้งวิธีการป้องกันแก้ไขมาเล่าให้ฟังดังนี้
สาเหตุของโรค
ประการแรก เกิดจากพันธุกรรมหรือพื้นฐานดั้งเดิม ถ้าพ่อแม่เป็นโรควิตกกังวล ลูกมีโอกาสเป็นโรควิตกกังวลเช่นกัน หรือมีพื้นฐานที่ไม่กล้าแสดงอารมณ์ออกมา และการมีสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล
ประการที่สอง สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู การเลียนแบบพฤติกรรมจากพ่อแม่หรือคนใกล้ชิด การประสบกับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดโรควิตกกังวล เช่น ความเครียดจากการเรียน การผิดหวังในชีวิต การสูญเสียบุคคลใกล้ชิด เป็นต้น
ประเภทของโรค
-
-
- โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder, GAD)
- โรคแพนิก (Panic Disorder, PD)
- โรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง (Phobias)
- โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder, OCD)
- โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder, PTSD)
-
อาการของโรค
อาการของโรควิตกกังกลเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้นรู้สึกกลัวอย่างฉับพลันซึ่งอาการอยู่ได้หลายนาทีถึงครึ่งชั่วโมง ทั้งสถานที่กับสิ่งแวดล้อมเป็นแรงกระตุ้น เช่น อาการเครียดและตื่นตกใจง่าย นอนไม่หลับ หวาดระแวง ห้วใจเต้นเร็ว มีอาการใจสั่นร่วมด้วย
การรักษา
เริ่มต้นด้วยการพูดคุยให้คำปรึกษาด้วยการรับฟัง แสดงความเห็นใจ ให้คำอธิบาย การทำจิตบำบัด การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม และการรักษาด้วยยา ซึ่งมียาหลายกลุ่มที่สามารถกินเพื่อลดอาการวิตกกังวล
วิธีป้องกัน
โรควิตกกังวลสามารถป้องกันได้โดยการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพ ด้วยการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ไม่เสพสื่อออนไลน์ที่ทำให้ตัวเราเองเกิดความเครียด นอกจากนี้ควรฝึกสติเพื่อรู้ทันอารมณ์ของตัวเอง รวมถึงการทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบอยู่กับปัจจุบันและให้สมองได้ผ่อนคลาย
รู้เท่าทันโรค รู้เท่าทันตนเอง หาวิธีป้องกัน และผ่อนคลายตัวเองบ้าง โรควิตกกังวลก็บรรเทาเบาบางลงได้ มาฝึกรับมือกับโรคต่าง ๆ ด้วยความมีสติกันมากขึ้น
Reference & Bibliography
- 6 อาการวิตกกังวลที่พบได้บ่อยในวัยทำงาน. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30145
- เช็กสัญญาณเตือน “โรควิตกกังวล” สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.sanook.com/health/25755/
Additional Information
ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา CJR411,JR413 Newspaper Workshop, CJR413,JR414 Magazine Workshop ภาคการศึกษาที่ 2/2562 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ขจรจิต บุนนาค และผศ.ณรงค์ศักดิ์ ศรีทานันท์